Others

ชวนมาเรียนรู้ Audio Post Production กัน

Share this article

โอกาสดีวันนี้วีโคได้มาเรียนรู้เรื่องใหม่ๆที่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำเสียงหลังการผลิตของการสร้างภาพยนตร์ ซีรีส์ โฆษณา วีดีโอ หรือที่เรียกว่า Audio Post Production แล้วมันคืออะไร?

Audio post-production is all stages of audio production relating to sound produced and synchronized with moving picture (film, television, or video). It involves sound design, sound effects, Foley, ADR, sound editing, audio mixing, mastering etc. ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

Audio post-production คือทุกขั้นตอนของการผลิตเสียงที่สัมพันธ์กับการสร้างเสียงและให้ความสอดคล้องกับภาพเคลื่อนไหว มันรวมไปถึงการออกแบบเสียง เสียงประกอบ การสร้างเสียงประกอบ การแก้ไขเสียง การผสมเสียง และการนำเสียงไปใช้จริง

เสียงในภาพยนตร์ประกอบไปด้วย 3 เสียงหลัก คือ

  1. Dialogue เสียงบทสนทนา เสียงพูด, ADR (Automated Dialogue Replacement)
  2. Music เสียงดนตรี
  3. Sound Effect เสียงประกอบ (Sound Effect | SFX ), เสียงบรรยากาศ (Ambient), Foley (เสียงประกอบที่สร้างขึ้น), Sound Design (การออกแบบเสียง)

ซึ่งในวันนี้จะพูดถึง เสียง Dialogue และ Sound Effect ตอนฟังบรรยายแรกๆอาจรู้สึกไม่คุ้นเคยสักหน่อย เพราะมีศัพท์เทคนิคหลายคำที่ไม่รู้จักมาก่อน วีโคเลยจะขอขยายความคำศัพท์แต่ละตัวในช่วงแรกเพื่อความเข้าใจให้มากขึ้นก่อนแล้วหลังๆจะใช้คำศัพท์ตัวนั้นแทนเลยนะครับ

Dialogue คือเสียงบทสนทนาหรือเสียงพูด ที่ทำการบันทึกตอนถ่ายทำจริงซึ่งตอนถ่ายทำจริง อาจมีเสียงบรรยากาศ เช่น เสียงรถ เสียงแตร เสียงคนอื่น เสียงแอร์ เสียงบรรยากาศอื่นๆสอดแทรกเข้าไปอยู่ด้วย โดยทั่วไปเมื่อได้ไฟล์เสียงบทสนทนาจะถูกนำมาใช้ซอฟต์แวร์ในการลบเสียงรบกวน เสียงบรรยากาศอื่นๆออกให้หมดก่อน แล้วค่อยใส่เสียงบรรยากาศเข้าไปให้พอดีพอเหมาะ แต่ต้องระวังว่าเสียงบทสนทนายังคงชัดเจน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เพราะบางครั้งเราใช้ซอฟต์แวร์ไปลบเสียงรบกวนออกอาจไปกระทบกับเสียงบทสนทนาเข้า

ADR (Automated Dialogue Replacement) เมื่อเรามีการบันทึกเสียงบทสนทนาตอนถ่ายทำจริงแต่ปรากฎว่า เสียงสนทนาเสียงพูด ใช้งานไม่ได้ด้วยเหตุผลอื่นใด หรือ ผู้ผลิตต้องการเปลี่ยนบทพูดใหม่ จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า ADR โดยให้นักแสดงตัวจริงมาทำการบันทึกเสียงใหม่ที่ห้องสตูดิโอ โดยต้องให้เสียงที่ได้มีอารมณ์ร่วม น้ำเสียง ความดังเบา ความเร็วช้า ให้ใกล้เคียงกับเสียงที่บันทึกในตอนถ่ายทำมากสุด เพื่อให้ภาพยนตร์ออกมาสมจริงเหมือนไม่ได้มีการตัดต่อใหม่ แต่บางครั้งการมาพากย์เสียงทีหลังก็ต้องทำหลายครั้งกว่าจะได้เสียงที่ใกล้เคียงและเชื่อมต่อกับเสียงตอนบันทึกจริงได้ดีสุด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นนักแสดง หรือ ทีมงาน ADR ก็ต้องใช้ความอดทนเพื่อให้ได้งานออกมามีคุณภาพ

Ambient เสียงบรรยากาศ คือ เสียงจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว เช่น เสียงนก เสียงคนอื่น เสียงรถ เสียงแตร เสียงแอร์ เสียงลม และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งมันดังมารบกวนเสียงพูดของนักแสดง ทำให้ผู้ฟังอาจฟังบทสนทนาไม่ชัด ดังนั้น โดยทั่วไป ทีมงานเสียง จะตัดเสียงบรรยากาศ เสียงรบกวนออกก่อน แล้วค่อยนำมาใส่ใหม่ให้พอดีพอเหมาะมากขึ้น ซึ่งบางครั้งเสียงบรรยากาศก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้อรรถรสในการรับชมมากขึ้น เช่น หนังผี สร้างเสียงบรรยากาศให้น่ากลัวน่าสยดสยอง เป็นต้น

Foley เสียงประกอบที่สร้างขึ้นใหม่ ชื่อ Foley เป็นชื่อเฉพาะไม่มีในพจนานุกรมเป็นชื่อของ Jack Donovan Foley ผู้พัฒนาเทคนิคนี้ Foley คือเสียงที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เสียงตอนเดิน เสียงเครื่องยนต์ เสียงตอนชก เสียงตอนประทะ และเสียงอื่นๆ เนื่องจากเราไม่สามารถทำการบันทึกเสียงทุกอย่างตอนถ่ายทำได้ เช่นตอน นักชกชกกัน เสียงที่บันทึกได้ ไม่ได้ยินเสียงตอนชก เตะ ต่อย ได้ชัด รวมถึงเสียง ฝีเท้า foot work ที่อยู่บนสนามแข่งขัน หรือบางครั้งไม่สามารถบันทึกเสียงได้เลย ทำให้ตอนมาทำเสียงต้องทำเสียงขึ้นใหม่ให้ชัดเจนขึ้น และให้เสียงลงได้ตรงตามจังหวะของการชก ต่อย เตะ และตอนขยับฝีเท้าไปมาเพื่อให้ได้ความสมจริงสำหรับผู้ชม

How 10 Different Movie Sounds Are Made | Movies Insider

Jack Donovan Foley (April 12, 1891 – November 9, 1967) was an American sound effects artist who was the developer of many sound effect techniques used in filmmaking. He is credited with developing a unique method for performing sound effects live and in synchrony with the picture during a film’s post-production. Accordingly, individuals engaged in this trade are called “Foley artists”. ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

Sound Effect (SFX) คือการสร้างเสียงประกอบเพื่อนำมาใช้ในหนัง ซึ่งจะประกอบได้ด้วย Sound Design, Foley, Ambient ซึ่งมีหัวข้อแยกย่อยไว้แล้วลองไปอ่านดูกันครับ

Sound Design แปลตรงตัว คือการออกแบบเสียง บางอย่างเราต้องทำการออกแบบเสียง สร้างเสียงขึ้นมาใช้ เพราะไม่มีเสียงจริง เช่น เสียงไดโนเสาร์ เสียงอวกาศ เสียงผี เสียงปีศาจ เสียงการ์ตูน เสียงหุ่นยนต์ เสียงบรรยากาศน่ากลัว เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการออกแบบเสียง ปรุงแต่งเสียง ให้ออกมาให้โดน ให้เหมือน ให้รู้สึกว่าใช่ ให้ได้อารมณ์ สรุปง่ายๆคือ ออกแบบเสียงมาใช้ให้ดูสมจริงได้อรรถรสในการรับชมนั้นเองละครับ

Audio Post Production

Sound Recording/ Editing/ Mixing การบันทึกเสียง การแก้ไขเสียง การผสมเสียง เริ่มจากการบันทึกเสียง จากนั้นเสียงที่ได้มาบางครั้งต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ เช่น ได้เสียงบทพูดผสมมากับเสียงบรรยากาศ เสียงบรรยากาศดังไปก็ต้องลบเสียง ปรับเสียง เพื่อให้ได้เสียงที่พอดีพอเหมาะกับเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ การผสมเสียง คือ ในสถานการณ์นึงๆมีเสียงหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ เช่น นักแสดงพูด มีเสียงฝนตก มีเสียงการเปิดประตู มีเสียงเดิน มีหลายเสียงในหนึ่งฉากก็ต้องทำให้เสียงที่ออกมามันสัมพันธ์กัน สอดคล้องได้จังหวะกับเหตุการณ์นั้นๆ เคยดูหนังไหมครับ แบบว่าเสียงไม่ตรงปาก เสียงไม่ตรงกับการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นละครับ รวมทั้ง Sound mixing ยังรวมไปถึงตอนสร้างเสียงขึ้น เช่น เสียงหุ่นยนต์ เป็นเสียงที่สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ก็ต้องมีการผสมเสียงให้มันออกมาได้เสียงที่ต้องการ, เสียงไดโนเสาร์ อาจใช้เสียงของสัตว์หลายชนิดมาผสมกันจนได้เสียงแปลกๆที่ให้รู้สึกเหมือนเสียงไดโนเสาร์ เป็นต้น

Mastering คือ เมื่อทำเสียงเสร็จแล้วก็ทำการตั้งค่าต่างๆเช่น ประเภทไฟล์, ระดับความดังเบา เพื่อทำการสร้างไฟล์ออกมาให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์มที่เราต้องการนำไปใช้ เช่น ระบบเสียงของโรงภาพยนตร์, ยูทูป, Netflix, มือถือ, จอแอลอีดี และอื่นๆ

ตัวอย่าง เสียงไดโนเสาร์

Jurassic Park Velociraptor sound design explained by Gary Rydstrom

สรุป การมาดูงานคราวนี้ทำให้เข้าใจกระบวนการผลิตเสียง Audio Post Production เพราะหากเราทำการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องเสียงเราต้องทำการออกแบบ(Sound Design)และสร้างขึ้นมาใหม่หมด ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด(Dialogue), เสียงบรรยากาศ(Ambient), เสียงประกอบ (SoundEffect|SFX), Foley, เสียงสัตว์ประหลาด, และอื่นๆ โดยต้องใช้ Sound Recording, Sound editing, Sound mixing และสุดท้ายต้องทำ Sound Mastering เพื่อเอาไปใช้ในแพลตฟอร์มต่างๆที่เราต้องการนั่นเอง

ท้ายที่สุดนี้ วีโคขอขอบคุณ คณะ ที่ได้ทำให้มีโอกาสมาดูงานด้านนี้ รวมทั้ง ขอขอบคุณพี่ๆทีมงานและเจ้าหน้าที่ บริษัท one cool production ที่ได้ให้การต้อนรับ ให้ความรู้ ดูแลเป็นอย่างดี รวมทั้งตอบข้อซักถามมากมาย ให้พวกเราเข้าใจ audio post production ได้ถ่องแท้มากขึ้นครับ 🙂

อ้างอิง / ที่มา

Loading