Investment

การเลือกซื้อบ้าน

Share this article

VEKOWORLD.COM | วีโคเวิลด์ดอทคอม

การเลือกซื้อบ้านอย่างไรถึงจะดี มีข้อคิด วิธีการ กลเม็ด กลยุทธ์อย่างไรในการเลือกซื้อบ้าน อสังหาริมทรัพย์ให้ได้ที่ดี อยู่แล้วมีสุข ซื้อไปนานวันราคาสูงขึ้น

การเลือกซื้อบ้าน

  1. ด้านหน้าบ้านหันไปทางออกหมู่บ้าน
  2. พื้นที่ดินควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  3. หากมีทางแยกต่างๆ เมื่อเดินหรือผ่านเข้ามา จะไม่มีส่วนใดส่วนนึงของบ้านยื่นออกไปให้เห็น ลองเดินมาตามทางแยกทุกแยกที่เดินมาเจอบ้านเรา
  4. หากเป็นบ้านมุม ด้านข้างที่เปิดควรหันไปทางทิศตะวันออก จะได้แดดเช้า สรุปคือหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ ถ้าด้านข้างเปิดไปทางทิศตะวันตก จะได้รับแดดบ่าย ซึ่งจะร้อนมาก
  5. ควรหลีกเลี่ยงบ้านที่มีพื้นที่ทับซ้อน เช่น บ้านมุม ที่มีพื้นที่ข้างบ้านเป็นที่กลับรถ หรือ อำนวยความสะดวกในกรณีเกิดเพลิงไหม้ เพราะจะเกิดปัญหาแย่งกันเป็นที่จอดรถส่วนตัว ทำให้อยู่แล้วไม่สุขได้ หรือ ถ้าหมู่บ้านที่คิดมาอย่างดีจะทำทางแยกเหล่านั้นเป็นฟุตบาต หรือ มีเหล็กกั้นไม่ให้นำรถเข้าไปจอด ก็จะแก้ปญหาได้ทางนึง หรือ ถ้าหากผู้ซื้อมองหาวิธีปิดพื้นที่ที่อาจจะเกิดการทับซ้อนได้ก่อนตัดสินใจซื้อจะเป็นการดี
  6. ไม่ควรมีฝาท่อน้ำ อยู่ตรงประตูหน้าบ้านโดยตรง หรือ ทางออกจากบ้าน ถ้ามีให้ช่างทำการเคลื่อนย้ายหลบออกไปอยู่ข้างๆ
  7. ถ้าเป็นการก่อสร้างบ้านแบบผนังสำเร็จจะมีปัญหาเรื่องรอยต่อ เวลาฝนตกหนักน้ำอาจซึมเข้ามาได้ วิธีแก้ เวลาทำหลังคานอกบ้านให้ทำหลังคาคลุมสูงกว่ารอยต่อของผนังสำเร็จระหว่างชั้น  1 และชั้น 2 เวลาฝนสาดจะไม่โดนรอยต่อโดนตรง
  8. การเลือกซื้อบ้าน ควรดูวัสดุที่ทำจากไม้ เช่น บันได พื้นลามิเนตชั้น 2 ว่าปลวกไม่กิน หากปลวกกินได้ รับรองว่าได้เปลี่ยนใหม่อย่างแน่นอนเมื่อเวลาผ่านไป
  9. ไม่ควรมีเสาไฟตรงประตูทางเข้าบ้านทั้งประตูรั้ว และ ประตูเข้าตัวบ้าน ก่อนเลือกบ้านควรตรวจสอบให้แน่ใจ
  10. การเลือกเลขที่บ้าน ควรรวมกันแล้วได้เลขที่ 6 หรือ 9 ถึงจะดี แต่เลขอื่นจะเหมาะกับลักษณะธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป
  11. ควรตรวจมลภาวะต่างๆ เช่นอยู่ใกล้ทางรถไฟ สนามบิน โรงงาน หรือ แหล่งกำเนิดเสียงที่จะรบกวนเราได้ รวมทั้งกลิ่น ฝุ่น ควันต่างๆ ลองสังเกตสิ่งแวดล้อมในบริเวณดังกล่าวรอบๆบ้านที่เราจะเลือกซื้อ
  12. ซอยของบ้านที่เราอยู่ ควรมีขนาดที่เมื่อทุกบ้านนำรถมาจอดหน้าบ้านแล้ว ยังพอมีเลนให้ขับรถเข้าไปได้
  13. ทำเลดีคือบ้านต้องมีที่ดินที่เป็นของหมู่บ้านจากถนนใหญ่เข้ามาที่บ้านโดยตรง หากเป็นซอยร่วม ไม่ใช้ที่ดินของหมู่บ้าน ควรมีขนาดที่พอส่วนเลนกันได้ และไม่ติดในเวลาเร่งด่วน ดูจากปริมาณบ้านคนที่อยู่ในซอย และซอยร่วมควรทะลุไปซอยอื่น หรือ ออกถนนใหญ่สายอื่นได้จะดีมาก
  14. ไม่ควรมี ชุมชนแออัด โรงงาน ที่อาจจะก่อให้เกิดอัคคีภัย โจร ผู้ร้าย อันธพาลในบริเวณใกล้เคียง
  15. การเดินทาง หากไม่มีรถส่วนตัว ยังสามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยปลอดภัย
  16. ควรใกล้ตลาด แหล่งหาซื้ออาหาร ของสด ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ อาหารปรุงสำเร็จได้โดยสะดวก โดยดูว่าจะเดินทางไปด้วยวิธีใดได้ เช่น จักรยาน มอเตอร์ไซต์ รถยนต์ รถประจำทาง ใกล้ไกลอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
  17. ควรมีโรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้างขนาดใหญ่ ห่างไม่ไกล  รวมทั้งสามารถเดินทางได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทางด่วน รถไฟฟ้า สนามบิน รถไฟ ที่ไม่ห่างไกลมากจนเกินไปหนัก
  18. ดูแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมที่จะมีโอกาสทำให้ที่ดินที่เราซื้อมีราคาที่สูงมากขึ้น
  19. สร้างความสัมพันธ์กับบ้านรอบข้าง พูดคุย นำของไปฝากบ้าง
  20. ควรเลือกบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียง โดยดูจากโครงการเดิมที่เคยทำมา
  21. การเลือกธนาคารเพื่อกู้ซื้อบ้าน ลองสอบถามโครงการว่ามีร่วมกับธนาคารใด เพื่อดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ และ หาธนาคารอื่นเพิ่มเติมด้วย ควรทำไฟล์ excel คำนวณค่าผ่อนบ้านตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะธนาคารจะเล่นโปรโมชั่นแค่ 3ปี หรือ 5 ปี โดยดูว่าธนาคารใดดอกเบี้ยน้อยสุด และ มองว่าจะสามารถ refinance ได้ภายในกี่ปี เพื่อลดดอกเบี้ยลงอีก
  22. ท่อน้ำนอกบ้านควรวางระบบไว้ใต้ดิน และมองไว้ใช้ในการรดน้ำต้นไม้แบบอัตโนมัติเพื่อความสะดวกสบาย และ เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งมองตำแหน่งก็อกน้ำสำหรับต่อสายยางล้างรถ ทำความสะอาด ซักล้างนอกบ้านด้วย
  23. ดูเส้นทางเดินทางมาที่บ้านว่าต้องไปกลับรถไกลแค่ไหนอย่างไร ลงสะพานไหน กลับรถกี่กิโลเมตรไกลแค่ไหนอย่างไร
  24. วิเคราะห์เส้นทางที่เดินทางบ่อย เช่น เข้าเมือง ออกเมือง ต้องเดินทางเส้นทางไหน ระยะทางกี่กิโลเมตร สะดวกแค่ไหนอย่างไร

การตรวจสอบบ้านและคำแนะนำ

  1. ติดฉนวนกันความร้อนไว้ที่ใต้หลังคาเพื่อกันความร้อนที่จะเข้ามาในตัวบ้าน ลดการใช้แอร์ ทำให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น
  2. ระบบไฟส่องสว่างนอกบ้าน ถ้าใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้จะดีมาก หลอดไฟ LED ที่ติดตามกำแพงรอบบ้าน
  3. ควรติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่มีความสำคัญ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  4. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า โดยตรวจระบบสายดินว่าใช้งานได้ไหม โดยใช้มัลติมิเตอร์แตะระหว่างช่องเสียบ
  5. ลำดับของสวิตท์ไฟ ควรเรียงตามลำดับไฟเพื่อให้สะดวกในการจดจำเป็นความเป็นลำดับ
  6. ปีนดูห้องใต้หลังคา ตรวจสอบว่าปูนฉาบปิดโครงสร้างเหล็กภายในครบทุกจุดหรือไม่
  7. ตรวจสอบกรอบหน้าต่าง ประตู โดยเฉพาะหน้าต่างดูรอยต่อกรอบหน้าต่าง หากทำรอยต่อไม่ดีเวลาฝนสาด น้ำจะซึมเข้ามาที่รอยต่อได้
  8. ตรวจสอบหลังคา ปีนขึ้นห้องใต้หลังคา ดูรอยคราบน้ำ เพื่อหารอยรั่วของหลังคา หากมีต้องทำการแก้ไข เพราะหากทิ้งไว้ฝ้าเพดานจะเสียหายด้วย
  9. ทดลองการไหลของน้ำตามจุดน้ำทิ้ง ดูระนาบของพื้นว่าน้ำสามารถไหลไปลงท่อระบายน้ำได้ไหม มีหลุม บ่อ อะไรเหรอไม่อย่างไร
  10. ห้องน้ำ ถ้าแยกส่วนเปียกกับส่วนแห้ง ควรมีกระจกปิดกันส่วนเปียกเพื่อใม่ให้ส่วนแห้งเปียกไปด้วย
  11. ระบบน้ำทิ้งจากแอร์ ควรเลือกตำแหน่งน้ำทิ้งให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดวัชพืชมาขึ้นในบริเวณที่น้ำหยดนั้น
  12. การทำลูกกรงเหล็ก ควรติดตั้งไว้ด้านในเพื่อความปลอดภัย ควรมีช่องทีเปิดได้ด้วย โดยล็อคด้วยแม่กุญแจอีกชั้นนึง และติดกุญแจนั้นไว้ในพวกกุญแจหลักเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
  13. ถ้าสามารถเลือกได้ให้เลือกใช้หลอดไฟ LED จะประหยัดไฟกว่าหลอดเรืองแสงมากกว่า 50% ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า
  14. การติดตั้งผ้าม่าน ควรติดผ้าม่านแบบกันแสงได้ 100% เพื่อทำให้นอนหลับได้สบาย มืดสนิท
  15. การติดตั้งจานดูทีวี ควรติดตั้งแบบจานดาวเทียมเพราะถึงแม้ว่าฝนตกก็ยังสามารถดูทีวีได้
  16. ทำการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ ให้มีแรงดันเยอะพอที่จะทำให้น้ำไหลแรงพอหรือมากกว่าที่ต้องการไว้สักหน่อย เผื่อสำหรับการใช้งานระยะยาวทำให้ประสิทธิภาพลดลง และ แท็งน้ำ สำหรับการเก็บน้ำควรเพียงพอสำหรับกรณีน้ำปะปาหยุดไหลหลายวันหน่อย
  17. การเลือกซื้อแอร์ ควรเลือกตามขนาดห้องเป็น ตารางเมตร มีแบบห้องที่โดนแดดโดยตรง และ ห้องที่ไม่โดนแดดโดยตรง และควรเลือกซื้อขนาดใหญ่มากกว่าสักหน่อย เพราะหากเราใช้แอร์ไปนานๆ 10 ปี ประสิทธิภาพของแอร์จะลดลงแต่ก็ยังทำความเย็นได้ รวมทั้งเลือกยี่ห้อที่เป็นที่นิยมทนทาน ซ่อมแซมดูแลง่าย เสียงไม่ดัง รวมทั้ง ประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นระบบ อินเวิคเตอร์ ที่มีค่า SEER สูงๆ เลือกเปรียบเทียบว่าอันไหนค่า SEER สูงกว่า เปรียบเทียบกับราคาแล้วโอเคสุด
  18. การติดตั้งแอร์ ควรติดตั้งตัวระบายความร้อน ในตำแหน่งที่สามารถทำความสะอาดได้โดยสะดวก หากอยู่ในที่ไม่โดนแดด ฝนก็จะเป็นการดีที่สุด แต่ต้องเป็นจุดที่สามารถระบายความร้อนออกจากห้องได้เป็นอย่างดี
  19. การเลือกซื้อทีวี ควรเลือกจอแบบ LED ทีวีที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตดูทีวีได้โดยสะดวก
  20. ลองเช็คสัญญาณ wifi สาธารณะของค่ายมือถือต่างๆ หากมีเราสามารถเชื่อมโยง ขยายสัญญาณมาใช้ในบ้านได้ โดยไม่เสืยค่าอินเตอร็เน็ตเป็นรายเดือนประหยัดได้มากกว่า
  21. วัสดุต่างๆ ตู้ เตียง ไม่ควรทำจากไม้ที่ปลวกสามารถกินได้ ถ้าไม่อย่างนั้นต้องมีระบบป้องกันปลวกแต่มีการตรวจสอบเหยื่ออย่างสม่ำเสมอ
  22. การทำผ้าม่าน ควรเว้นระยะเผื่อการติดตั้งแอร์เหนือหน้าต่างไว้ด้วย เพราะบางทีเราติดตั้งผ้าม่านสูงไป จะติดตั้งแอร์เหนือหน้าต่างไม่ได้
  23. วิธีการตรวจรับห้องน้ำ ให้ทำการอุดอ่างล้างหน้าแล้วเปิดน้ำจนเต็มจนล้น แล้วเปิดออกทดสอบการระบายน้ำและรูน้ำล้น และท่อน้ำทิ้ง ต่อมาอุดรูท่อในห้องน้ำเปิดน้ำให้ท่วมแล้วเปิดรูระบายน้ำทดสอบการระบายของน้ำในห้องน้ำ
  24. ทดสอบการปูกระเบื้อง ทุกตำแหน่ง โดนนำเหรียญเคาะ หากโปร่งให้ทำการแก้ไขใหม่ เนื่องจากหากปูกระเบื้องแบบไม่เต็มแผ่น เมื่อเวลาผ่านไปกระเบื้องจะร่อนและหลุดต้องเสียเงินปูกระเบื้องใหม่อีก
  25. หลังคาทาวเฮ้าส์ควรปีนขึ้นดูว่ามีช่องเดินไปบ้านหลังอื่นไหม หากมีให้ทำการปิดช่องดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยในระยะยาว
  26. หากเป็นทาวเฮ้าส์ที่หลังบ้านติดกัน ควรทำห้องครัวก่อนบ้านหลังที่ติด เพราะจะสามารถฉาบปูนได้สองด้าน และ ควรแยกโครงสร้างครัวออกจากโครงสร้างหลักของบ้านเพื่อความปลอดภัย และลงเสาเข็มให้ความยาวขนาดเดียวกันกับตัวบ้าน

Loading