Investment

DCA Dollar Cost Averaging คืออะไร?

Share this article

DCA Dollar Cost Averaging คืออะไร?

DCA Dollar Cost Averaging คืออะไร?การออมเงินเพื่อทำให้เงินงอกเงยมีหลากหลายวิธีการ เราลองมาทำความรู้จักกับการออมที่เรียกว่า ดีซีเอ DCA

พอดีวีโคมีโอกาสไปสัมมนาที่ตลาดหลักทรัพย์ หลังจากสัมมนาเสร็จเห็นป้ายว่ามีพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมเลยลงไปดู ปรากฎว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ DCA หรือ Dollar Cost Averaging แล้วเจ้า DCA คืออะไร? DCA คือ การออมเงินแล้วนำเงินออมในทุกๆเดือนไปลงทุนในหุ้น โดยไม่สนใจราคาและเก็บสะสมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี แต่ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจเราลองดูนิทรรศการ ตามลำดับกันไปก่อนดีกว่า


เก็บตังค์พลังบวก DCA เริ่มต้นด้วยการเก็บตังค์แบบเดิม Traditioanal Savings คือการออมแบบเดิมๆ คือเก็บเงินใส่ตุ่ม ใส่ไห ฝากธนาคาร เก็บเงินเป็นรายวัน หยอดกระปุก ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นรูปแบบการออมเงินแบบดั่งเดิม บางครั้งเก็บใส่ตุ่ม ใส่ไห ลืมเอาออกมาใช้อีก ฮา

แล้วเราจะเก็บตังค์ให้โต Power Up Your Money ได้อย่างไร อันนี้เป็นรูปแบบการเก็บตังค์แบบเก็บเงิน 50 บาทในทุกวัน บางวันเก็บไม่ได้แต่ก็มีระบุไว้ว่าเอาเงินไปทำอะไรแบบนี้ ถ้าเก็บวันละ 50 บาท 30 วัน ก็ได้เดือนละ 1500 บาท เลยทีเดียวเชียวละ

มีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการออมแบบ DCA เป็นการลงทุนแบบมีความสุข คือ ให้ลองเล่นเกมส์ นำแท่งเหล็กผ่านไปตามช่องลวด ถ้าแท่งเหล็กแตะโดนขอบไฟก็จะติด มีเสียงดัง การลงทุนแบบซื้อหุ้นเองจะมีความเสี่ยง และความผันผวนของตลาดมากกว่า ในขณะที่การลงทุนแบบ DCA มันคือการลงทุนแบบสม่ำเสมอซื้อหุ้น ณ ราคาตลาดในทุกๆเดือนแล้วเฉลี่ยว่าทั้งปี เราจะได้ราคาหุ้นที่เท่าไหร่

ภาพนี้จะเป็นการเปรียบเทียบ การซื้อหุ้นทีเดียว กับ ออมแบบ DCA หรือ การเก็บตังค์พลัง DCA จากการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า การออมแบบ DCA ได้จำนวนหุ้นที่มากกว่า แต่อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาเท่านั้น ซึ่งภาพนี้ได้คำให้นิยามของ DCA ว่า

DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นวิธีการซื้อหุ้นแบบอัตโนมัติโดยการกำหนดจำนวนเงินเท่ากันทุกๆเดือน ข้อดีก็คือ ง่ายสำหรับมือใหม่ ใช้เงินน้อยค่อยๆเก็บทุกเดือน ลดความเสี่ยงจากราคาขึ้นลง ช่วยทำให้เงินโต และสร้างวินัยการออม


การออมเงินเพื่อให้งอกเงย มีปัจจัยที่สำคัญอยู่สามอย่างคือ 1. จำนวนเงินที่ออม 2. ระยะเวลาในการออม 3. อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย ถ้าเราทำได้ทั้งสามข้อก็จะสามารถทำให้เงินเรางอกเงยได้มากสุด

ตัวอย่าง การออม สาม แบบ 1. การหยอดกระปุก อัตราผลตอบแทน 0% 2.ฝากธนาคาร อัตราผลตอบแทน 1.73% 3.ลงทุนในหุ้น อัตราผลตอบแทน 11.61% จะเห็นได้ว่าการออมที่ได้ผลมากสุด ต้องใช้สามปัจจัยหลัก คือ จำนวนเงิน ระยะเวลาออม และ อัตราผลตอบแทนสูง จะทำให้เงินเรางอกเงยหรือเพิ่มพูนมากสุด

ยกตัวอย่าง การคำนวณการทำเงินให้งอกเงย ตัวเลขสมมุติว่าปัจจัยแต่ละอย่างมีค่าสูง

  1. เงินตั้งต้น 1 ล้านบาท
  2. ระยะเวลา 10 ปี
  3. อัตราดอกเบี้ย 12%

ใช้สูตร  FV = PV (1+i) ^n

เมื่อคำนวณออกมาจะได้เงินหลังจากผ่านไป 10 ปี เท่ากับ 3,105,848.02 บาท

คิดเป็นกำไรถึง 210.58% 

จะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากออมเงินให้งอกเงยมากสุด ต้องใช้สามปัจจัยดังกล่าว

สรุป

ในความเห็นของวีโค คิดว่าการออมแบบ DCA ดีตรงที่เราออมสม่ำเสมอต่อเนื่องในทุกเดือน ทำให้ได้ราคาหุ้นแบบค่าเฉลี่ยตลอดปี ซึ่งก็มีโอกาสขาดทุนได้หากปีนั้นราคาหุ้นสูงมาก และปีต่อมาราคาลดลง แต่เป็นการออมระยะยาวๆแบบต่อเนื่องน่าจะได้ผลดีถ้าหากออมต่อเนื่องยาวนานหลายปี หลายสิบปี ถ้าวิธีการดีสุดน่าจะต้องศึกษาตลาดและหาจังหวะราคาที่เหมาะสมก่อนทำการตัดสินใจซื้อ ซึ่งการใช้วิธีนี้อาจทำให้เราไม่ได้ออมอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไปไปมามาไม่ได้ซื้อหุ้นเพื่อลงทุนสักทีเพราะไม่ได้ราคาที่เหมาะสมที่เราต้องการ ดังนั้น ผู้ลงทุนต้องลองตัดสินใจว่า การลงทุนด้วยวิธีใดจะเหมาะสมมากที่สุด การลงทุนมีความเสี่ยง ควรพิจารณาข้อมูลต่างๆก่อนการตัดสินใจ โชคดีสำหรับการลงทุนและขอให้เลือกวิธีที่ทำให้เงินทำงานและงอกเงยมากที่สุดครับ

ขอขอบคุณ

Loading